กฐิน


วันที่ 06 พฤศจิกายน 2565 เวลา 19:45 น. ( อ่านแล้ว 608 ครั้ง )

การทอดกฐิน ความหมายของกฐิน >> กฐิน เป็นศัพท์บาลี แปลตามศัพท์ว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้หรือไม้แบบสำ หรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็น จีวรในสมัยโบราณ ซึ่งผ้าที่เย็บ สำ เร็จจากกฐินหรือไม้สะดึงแบบนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน (ผ้าเย็บจากไม้ แบบ) >> การทอดกฐิน นับเป็นพิธีกรรม ทางพระพุทธศาสนาที่สำ คัญอย่าง หนึ่ง ซึ่งมีช่วงเวลาจำ กัดเพียง ปีละ 1 เดือน คือ ระหว่าง แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือ ระยะเวลาทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน

ความเป็นมาของกฐิน

ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐ 30 รูป ได้เดินทาง เพื่อมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเชตวันมหา วิหาร เมืองสาวัตถี แต่ยังไม่ทันถึงเมือง สาวัตถี ก็ถึงวันเข้าพรรษาเสียก่อน พระสงฆ์ทั้ง 30 รูป จึงต้องจำ พรรษา ณ เมืองสาเกตุในระหว่างทาง พอออกพรรษา แล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ออกเดินทางมาเข้าเฝ้า พระศาสดาด้วยความยากลำ บากเพราะฝนยัง ตกชุกอยู่ เมื่อเดินทางถึงวัดพระเชตวัน พระพทธเจ้าได้ตรัสถามถึงความเป็นอยู่และ การเดินทาง เมื่อทราบความลำ บากนั้นจึงทรง อนุญาตให้ภิกษุผู้จำ พรรษาครบถ้วนไตรมาส สามารถรับผ้ากฐินได้ และภิกษุผู้ได้กรานกฐิน ได้อานิสงส์ 5 ประการ ภายในเวลาอานิสงส์ กฐิน (นับจากวันที่รับกฐินจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4) คือ

ไปไหนไม่ต้องบอกลา

ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำ รับสาม ผืน

ฉันคณโภชนะได้ (รับนิมนต์ที่เขา นิมนต์โดยออกชื่อโภชนะฉันได้)

 เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้โดยที่ยังมิได้ วิกัปป์ และอธิษฐานโดยไม่ต้องอาบัติ

จีวรลาภอันเกิดขึ้น จักได้แก่ภิกษุผู้ได้ กรานกฐินแล้ว

ประเภทของกฐิน

การทำ บุญทอดกฐินในประเทศไทยเราได้แบ่งกฐินออกเป็น 2 ประเภท คือ กฐินหลวง และกฐินราษฎร์

กฐินหลวง กฐินหลวง ได้แก่ กฐินที่ทำ พิธีทอดถวายแด่พระสงฆ์ที่อยู่จำ พรรษา ณ พระอาราม หลวงแห่งใดแห่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท คือ

-กฐินเสด็จพระราชดำ เนิน เป็นกฐินหลวงที่พระแผ่นดินเสด็จไปพระราชทาน ถวายด้วยพระองค์เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์ไป ทอดถวายแทน

กฐินต้น เป็นกฐินส่วนพระองค์ที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำ เนินไปทอด พระราชทานแก่วัดใด วัดหนึ่งซึ่งอาจเป็นวัดหลวงหรือวัดราษฎร์ก็ได้

- กฐินพระราชทาน เป็นกฐินหลวงที่โปรดพระราชทานให้แก่หน่วยงานข้าราชการ คฤหบดี พ่อค้า และประชาชนผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานผ้ากฐินนำ ไปทอด ถวาย ณ พระอารามหลวง แห่งใดแห่งหนึ่ง

ประเภทของกฐิน (2)

 กฐินราษฎร์ กฐินราษฎร์ ได้แก่ กฐินที่ราษฎรผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายจัดนำ ไปทอดถวาย ณ วัดราษฎร์ทั่วไป กฐินราษฎร์นี้นิยมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

มหากฐิน เป็นกฐินที่นิยมจัดเครื่องบริวารกฐินต่าง ๆ มากมาย จุลกฐิน เป็นกฐินน้อยหรือกฐินรีบด่วนเพราะมีเวลาจัดเตรียมการน้อย มีกฐิน พิเศษอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า จุลกฐิน เป็นงานที่มีพิธีมาก ถือกันว่ามาแต่ โบราณว่า มีอานิสงส์มากยิ่งนัก วิธีทำ นั้น คือเก็บฝ้ายมากรอเป็นด้าย และทอ ให้แล้วเสร็จเป็นผืนผ้าในวันเดียวกัน และนำ ไปทอดในวันนั้น กฐินชนิดนี้ ต้องทำ แข่งกับเวลา มีผู้ทำ หลายคน แบ่งกันเป็นหน้าที่ ๆ ไป ในปัจจุบันนี้ ไม่ค่อยนิยมทำ กันแล้ว

 

เครื่องกฐิน

 ประกอบด้วย ผ้าไตรครอง (กฐิน) ,บาตร พร้อมอัฐบริขาร ,ตาลปัตร ,ย่าม ,สัปทน ,ที่นอน ,หมอน ,เสื่อ ,มุ้ง ,ผ้าห่ม ,ผ้าเช็ดตัว ,ร่ม ,ปิ่นโต ,รองเท้า ,กาต้มน้ำ ,กระโถน ,กานวม-ถ้วยชา ,จานข้าวช้อนส้อม ,พานแว่นฟ้าฟ้ ,ครอบไตร ,ธงมัจฉาจระเข้ ,ไม้กราด ,เทียนปาฏิโมกข์ ,ชุดถังผ้าป่า ,สบง ,ชะนี ,อาสนะ ,ชุดเครื่องโยธา ,กระติกน้ำ ,หม้อหุงข้าว ,เตา ,กระทะ ,ช้อนส้อม ,เหยือกน้ำ

คำ กล่าวถวายผ้ากฐิน

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 จบ) อิมัอิ มัง มะยัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะ จีวะระทุสสัง สังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต สังโฆ อิมัง สะปะริวารัง กะฐินะจีวะระทุสสัง ปะฏิคคันหาตุ ปะฏิคคะ เหตตะวา จะ อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง อัตถะรัตตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ นิพพานายะจะฯ คำ กล่าวถวายผ้ากฐิน (ไทย) ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้า-ทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้าจีวรกฐิน พร้อมด้วยบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์ จงรับ ผ้าจีวรกฐิน พร้อมด้วยบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ครั้นรับแล้ว จงกรานกฐิน ด้วยผ้าผืนนี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อมรรคผล นิพพาน แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญฯ

ธงกฐิน

ธงกฐินทั้ง 4 คือ ธงจระเข้ (ความโลภ) เปรียบถึงความโลภ เนื่องจากจระเข้เป็นสัตว์ที่มีปากกว้างใหญ่กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม ตามตำ นานได้มีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า เมื่อครั้งหนึ่งมีเศรษฐีขี้เหนียวไม่เคยก่อบุญสร้าง กุศล ได้นำ สมบัติที่ตนเองหวงแหนฝังไว้ที่ท่าน้ำ หน้าบ้าน พอเศรษฐีตายไป ด้วยผลกรรม ที่มี จึงได้เกิดเป็นจระเข้เฝ้าสมบัติที่ท่าน้ำ หน้าบ้านตนเอง ด้วยความอยากหลุดพ้น จึงเข้าฝันภรรยาตนและบอกให้ขุดสมบัติขึ้นมาทำ บุญ ภรรยาของเศรษฐีจึงได้จัดการ ทอดกฐินขึ้น ฝ่ายจระเข้เศรษฐีเกิดความดีใจเลยว่ายน้ำ ตามขบวนแห่กฐินแต่ไม่ทันถึงวัด ก็ขาดใจตายไปเสียก่อน ภรรยาของเศรษฐีจึงได้วาดธงจระเข้แทนสามีที่เสียชีวิตไป ในปัจจุบันนี้ จะเห็นธงจระเข้ติดอยู่ตามร้านค้าต่าง ๆ เพราะเป็นตัวแทนของการกินเท่าไรก็ ไม่อิ่ม ซึ่งถือเป็นการดึงดูดเงินทางให้เข้ามา

ธงตะขาบ (โกรธ) ธงตะขาบ เป็นเครื่องหมายแสดงว่าวัดนั้นมีผู้จองเป็นเจ้าภาพกองกฐินแล้ว หากผู้จะมา ปวารณาเป็นเจ้าภาพให้ไปวัดอื่นได้เลย

 ธงมัจฉา (หลง) ธงมัจฉา เป็นตัวแทนของหญิงสาว ตามความเชื่ออานิสงส์จากการถวายผ้าแด่พระภิกษุ สงฆ์ จะส่งผลให้มีรูปโฉมที่งดงาม ส่งเสริมด้านเมตตามหานิยม หากเป็นพ่อค้าแม่ขาย จะทำ มาค้าคล่อง

ธงเต่า (สติปัญปั ญา) ธงเต่า ใช้ประดับเพื่อแจ้งว่าวัดนี้ได้ทอดกฐินเรียบร้อยแล้ว และธงเต่านี้จะถูกปลดลง ในวันเพ็ญเดือน 12 ซึ่งเป็นช่วงหมดฤดูกาลทอดกฐินนั่นเอง ตามความเชื่อ เต่ามีความหมายถึง อายุที่ยืน สุขภาพแข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ  

อานิสงส์กฐิน

>> อานิสงส์กฐินสำ หรับพระ ในพระวินัย ระบุอานิสงส์กฐินไว้ 5 ประการ คือ

 1. เข้าบ้านได้โดยมิต้องบอกลาภิกษุด้วยกัน

2. เอาไตรจีวรไปโดยไม่ครบสำ รับได้ 3. ฉันอาหารเป็นคณะโภชน์ได้

4. เก็บจีวรไว้ได้ตามปรารถนา

5. ลาภที่เกิดขึ้นเป็นของเธอผู้จำ พรรษาในวัดนั้น

อานิสงส์กฐินสำหรับผู้ทอด

ทำ ให้เป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์สินมาก และประสบความสำ เร็จในหน้าที่การงาน ได้โดยง่าย

ทำ ให้เป็นผู้มีจิตใจแช่มชื่น บริสุทธิ์และผ่องใสอยู่เสมอ

ทำ ให้เป็นผู้มีจิตใจตั้งมั่น เป็นสมาธิและเข้าถึงธรรมได้โดยง่าย

ได้ชื่อว่าเป็นผู้สามารถใช้ทรัพย์สมบัติให้เกิดเป็นบุญกุศลติดตัวไปในภพ เบื้องหน้าได้อย่างเต็มที่

ทำ ให้เป็นคนรูปงาม ผิวพรรณงาม เป็นที่รักของคนทั่วไป

ทำ ให้เป็นผู้มีชื่อเสียง เกียรติคุณ น่ายกย่องสรรเสริญ เป็นที่ตั้งแห่ง ศรัทธาน่าเคารพนับถือ 

ขอบคุณข้อมูลจาก :สำ นักนั งานวัฒวั นธรรมจังจั หวัดวั นครสวรรค

รูปจาก http://nm.sut.ac.th/