ปล่อยสัตว์น้ำให้ถูกที่ วิธีช่วยชีวิตที่ถูกต้อง


วันที่ 28 เมษายน 2565 เวลา 10:25 น. ( อ่านแล้ว 422 ครั้ง )

ปลาช่อน 

ความหมายของการปล่อย : ช้อนเงิน ช้อนทอง ช้อนของที่หาย

แหล่งน้ำที่ควรปล่อย : คลอง หนอง บึง ที่สะอาด กระแสน้ำไม่แรง มีกอหญ้าริมตลิ่ง

ปลาดุกอุย

ความหมายของการปล่อย : เอาชนะศัตรู คู่แข่ง

แหล่งน้ำที่ควรปล่อย : คลอง หนอง บึง ที่สะอาด กระแสน้ำไม่แรง มีกอหญ้าริมตลิ่ง

ปลาหมอไทย 

ความหมายของการปล่อย : สุขภาพแข็งแรง

แหล่งน้ำที่ควรปล่อย : คลอง หนอง บึง ที่สะอาด น้ำนิ่ง มีกอหญ้าและพืชน้ำริมตลิ่ง

ปลาไหล 

ความหมายของการปล่อย : ชีวิตราบรื่น

แหล่งน้ำที่ควรปล่อย : แหล่งน้ำตื้น กระแสน้ำไม่แรง บริเวณห้วย หนอง คลอง บึง นา ร่องสวน มีดินเฉอะแฉะให้ปลาไหลขุดรูเป็นที่อยู่อาศัย

กบ 

ความหมายของการปล่อย : อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร

แหล่งน้ำที่ควรปล่อย : กบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ไม่ควรปล่อยในแม่น้ำ ควรปล่อยบริเวณชื้นแฉะที่มีกอหญ้าและแมลงซึ่งเป็นอาหารของกบ

ปลาสวาย 

ความหมายของการปล่อย : เงินทองคล่องตัว

แหล่งน้ำที่ควรปล่อย : น้ำลึกและกว้าง กระแสน้ำไหลแรง เช่นแม่น้ำ คลอง

ปลาตะเพียน 

ความหมายของการปล่อย : มีเงินมีทอง

แหล่งน้ำที่ควรปล่อย : น้ำลึกและกว้าง กระแสน้ำไหลแรง เช่นแม่น้ำ คลอง

ข้อควรระวัง 

  • ควรเลือกสัตว์น้ำที่สามารถเติบโตได้ในแหล่งน้ำของไทย นั่นคือสัตว์น้ำและปลาสายพันธุ์ไทย เพราะสัตว์น้ำสายพันธุ์อื่น นอกจากจะดำรงชีวิตในแหล่งน้ำไทยไม่ได้แล้ว ยังเป็นการทำลายระบบนิเวศ เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำพันธุ์ไทย และอาจส่งผลให้สูญพันธุ์เลยก็ได้
  • ปล่อยสัตว์ที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยหรือมีบาดแผล เพราะจะไม่สามารถอยู่รอดได้ และเป็นการแพร่เชื้อสู่สัตว์น้ำตัวอื่นๆ
  • ปล่อยช่วงที่อากาศไม่ร้อนจัด เช่นตอนเช้าหรือตอนเย็น เพราะสัตว์น้ำจะปรับตัวไม่ทัน
  • เลือกแหล่งน้ำที่สัตว์น้ำจะดำรงชีวิตอยู่ได้ ไม่สกปรกจนเกินไป สังเกตได้จากสีของน้ำไม่ควรดำหรือเขียวเข้ม 

ที่มาfisheries